วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563
บทที่3 อาหาร
สารประกอบอินทรีย์มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างพันธะโคเวนเลนต์กับธาตุไฮโดรเจน หรือกับธาตุคาร์บอนด้วยกันเอง และยังอาจมีธาตุชนิดอื่นเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย
- สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น
- สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะเดี่ยวทั้งหมดส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หรือพันธะสามอย่างน้อย 1 พันธะ
- พอลิเมอร์เป็นสารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ประกอบด้วยมอนอเมอร์จำนวนมากเชื่อมต่อกัน
- สารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) แสดงสมบัติความเป็นกรดสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่แอนิโน (-NH2),-NH-,-N-) แสดงสมบัติความเป็นเบส
- หลักการ like dissolves like ใช้อธิบายการละลายของสาร โดยที่เป็นตัวละลายจะละลายได้ในตัวละลายที่มีขั้วใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลประเภทเดียวกัน
- พอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกเป็นพอลิเมอร์ที่เมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการหลอมเหลวและเเข็งตัวเมื่อเย็นลง ส่วนพอลิเมอร์เทอร์มอเซตเป็นพอลิเมอร์ที่ไม่หลอมเหลว เเต่จะเกิดการสลายตัวหรือไหม้เมื่อได้รับความร้อนสูง
บทที่2 น้ำ
- พันธะโคเวเลนต์เป็นการยึดเหนี่ยวกันระหว่างคู่อะตอมโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ส่วนใหญ่เกิดขี้นระหว่างคู่อะตอมของธาตุอโลหะ
- พันธะโคเวเลนต์มี 3 ชนิด คือ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม
- จุดหลอมเหลวเเละจุดเดือดของสารโคเวเลนต์มีความสัมพันธ์กับเเรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งเป็นผลมาจากสภาพขั้วของสาร สารที่มีมวลและรูปร่างโมเลกุลใกล้เคียงกันสารมีขั้วจะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าสารไม่มีขั่ว
- พันธะไฮโดรเจนเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่เกิดกับสารมีขั้วที่มีพันธะ O-H ,N-H ,หรือF-H ในโมเลกุล ทำให้สารมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่ามีขั้วที่มีโมเลกุล
- สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกที่ยึดเหนี่ยวกับไอออนลบด้วยพันธะไอออนิก โดยไอออนบวกและไอออนลบจัดเรียงตัวสลับกันต่อเนื่องไปใน 3 มิติ ในอัตราส่วนที่ทำให้สารประกอบไอออนิกเป็นกลางทางไฟฟ้า
- สูตรของสารประกอบไอออนิกเขียนเเสดงด้วยสูตรเอมพิริคัล ซึ่งแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของไอออนที่เป็นองค์ประกอบ
- จุดหลอมเลวของสารประกอบไอออนิกสูงกว่าสารโคเวเลนต์มาก เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการทำลายพันธะไอออนิกซึ่งมีความเเข็งแรงมากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารโคเวเลนต์
- การละลายน้ำมี2แบบ คือ การละลายแบบเเตกตัว และการละลายแบบไม่แตกตัว
- การละลายแบบแตกตัวเกิดขึ้นกับสารประกอบไอออนิกที่สามารถละลายน้ำได้ หรือ สารโคเวเลนต์ที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรดเหรือเบส และสารละลายที่ได้เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์
บทที่1 อากาศ
สารประกอบด้วยธาตุเพียงชนิดเดียวจัดเป็นธาตุ ส่วนสารที่ประกอบด้วยธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดจัดเป็นสารประกอบ
- ธาตุมีทั้งที่อยู่ในรูปของอะตอม และโมเลกุล
- อะตอมประกอบด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน และเป็นกลางไฟฟ้า
- ไอออนมีประจุไฟฟ้า และมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
- แบบจำลองอะตอมของโบว์แสดงโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส และอิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นเป็นวงรอบนิวเคลียส
- สัญลักษณ์นิวเคลียสแสดงชนิดของธาตุ เลขอะตอม และ เลขมวล
- เลขอะตอมเท่ากับจำนวนโปรตอน ส่วนเลขมวลเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอนและนิวตรอน
- ไอโซโทปเป็นธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขมวลต่างกัน
- ตารางธาตุจัดเรียงธาตุตามเลขอะตอม โดยให้ธาตุที่มีคุรสมบัติคล้ายคลึงกันอยู่ในหมู่เดียวกัน
- ธาตุในตารางธาตุจัดกลุ่มเป็นกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟและกลุ่มธาตุแทรนซิซัน หรือแบ่งเป็นธาตุโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ
- ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะ จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)
สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)
สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)

- อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้
อะตอม
โครงสร้างอะตอม
อะตอมคือ
อนุภาคที่เล็กมาก เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้ ดีโมครี- ตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า อะตอม (Atom) จากภาษากรีกที่ว่า atoms ซึ่งมีความหมายว่า ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก ตามความคิดเห็นของเขา อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้
แบบจำลองอะตอมของจอห์นดอลตัน
จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมโดยอาศัยข้อมูลจากการทดลองที่พอจะศึกษาได้และนับว่าเป็นทฤษฎีแรกที่เกี่ยวกับอะตอมที่พอจะเชื่อถือได้ ซึ่งมีใจความดังนี้
- สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า “ อะตอม”
- อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้ และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
- อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
- อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน
- ธาตุตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขอย่างง่าย เช่น CO CO 2
จากทฤษฎีอะตอมของดาลตัน แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
- ทอมสัน ค้นพบ อิเล็กตรอน
- การทดลองของรอเบิร์ด แอนดรูส์ มิลลิแกน ได้ผลการทดลองว่า อิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าเท่ากับ 1.60 x 10 -19 คูลอมบ์ และอิเล็กตรอนมีมวลเท่ากับ 9.11 x 10 -28 กรัม
- โกลด์สไตน์ ค้นพบ โปรตอน
จากผลการทดลองของทอมสัน โกลด์สไตน์ ทำให้ทอมสันได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้นเขาจึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่า
- อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม
- อะตอมไม่ใช่สิ่งที่เล็กที่สุด แต่อะตอมจะประกอบด้วยอิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆอีก
- อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ อนุภาคโปรตอนมีประจุเป็นบวก
- อะตอมจะมีโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
- อะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า เพราะ มีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ
จากทฤษฎีอะตอมของทอมสัน แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางนิวเคลียสมีขนาดเล็กมากมีมวลมาก และมีประจุบวกส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบและมีมวลน้อยมาก จะวิ่งรอบนิวเคลียสเป็นวงกว้าง การค้นพบนิวตรอน เนื่องจากมวลของอะตอมส่วนใหญ่อยู่ที่นิวเคลียสซึ่งเป็นมวลของโปรตอนแต่โปรตอนมีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของนิวเคลียสเท่านั้น แสดงว่าต้องมีอนุภาคซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าแต่มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอนอยู่ในอะตอมด้วย เจมส์ แชวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จึงศึกษาทดลองเพิ่มเติมจนพบนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า อะตอมของธาตุทุกชนิดในโลกจะมีนิวตรอนเสมอ ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจนในรูปของไอโซโทป
สรุปแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็ก แต่มีมวลมากและมีประจุเป็นบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบ และมีมวลน้อยมาก จะวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง
จากทฤษฎีอะตอมของ รัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาลักษณะของการจัดอิเล็กตรอนรอบๆ อะตอม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษษเกี่ยวกับสเปกตรัมของอะตอม ซึ่งทำให้ทราบว่าภายในอะตอมมีการจัดระดับพลังงานเป็นชั้นๆ ในแต่ละชั้นจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานไอโอไนเซชัน เพื่อดูว่าในแต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ได้กี่ตัว
สเปกตรัม หมายถึง อนุกรมของแถบสีหรือเส้นที่ได้จากการผ่านพลังงานรังสีเข้าไปในสเปกโตรสโคป ซึ่งทำให้พลังงานรังสีแยกออกเป็นแถบหรือเป็นเส้น ที่มีความยาวคลื่นต่างๆเรียงลำดับกันไป
นีลส์โบร์ ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา สรุปได้ดังนี้
1 . อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว
2. อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกว่าระดับพลังงานต่ำสุดยิ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น ระดับพลังงานจะยิ่งสูงขึ้น
3. อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน n = 1 ระดับพลังงานถัดไปเรียกระดับพลังงาน n =2, n = 3,… ตามลำดับ หรือเรียกเป็นชั้น K , L , M , N ,O , P , Q ….
จากทฤษฎีอะตอมของ นีลส์โบร์ แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
เป็นแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุดทั้งนี้ได้จากการประมวลผลการทดลองและข้อมูลต่างๆ อะตอมภายหลังจากที่นีลส์โบร์ ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
1. อิเล็กตรอนไม่สามารถวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยรัศมีที่แน่นอน บางครั้งเข้าใกล้บางครั้งออกห่าง จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้ แต่ถ้าบอกได้แต่เพียงที่พบอิเล็กตรอนตำแหน่งต่างๆภายในอะตอมและอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เร็วมากจนเหมือนกับอิเล็กตรอนอยู่ทั่วไป ในอะตอมลักษณะนี้เรียกว่า ” กลุ่มหมอก”
2. กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆจะมีรูปทรงต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอน และระดับพลังงานอิเล็กตรอน
3. กลุ่มหมอกที่มีอิเล็กตรอนระดับพลังงานต่ำจะอยู่ใกล้นิวเคลียสส่วนอิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานสูงจะอยู่ไกลนิวเคลียส
4. อิเล็กตรอนแต่ละตัวไม่ได้อยู่ในระดับพลังงานใดพลังงานหนึ่งคงที่
5. อะตอมมีอิเล็กตรอนหลายๆระดับพลังงาน
จากทฤษฎีอะตอมของแบบกลุ่มหมอกแบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
ธาตุ
ตารางธาตุ (Periodic table of elements)
ตารางธาตุ (Periodic table of elements) คือ ตารางที่นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมธาตุต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ และคุณสมบัติที่เหมือนกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาในแต่ละส่วนของตารางธาตุ โดยคาบ ( Period ) เป็นการจัดแถวของธาตุแนวราบ ส่วนหมู่ ( Group ) เป็นการจัดแถวของธาตุในแนวดิ่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาพตารางธาตุปัจจุบัน
- ธาตุหมู่หลัก มีทั้งหมด 8 หมู่ 7 คาบ โดยธาตุที่อยู่ด้านซ้ายของเส้นขั้นบันได จะเป็นโลหะ (Metal) ส่วนทางด้านขวาเป็นอโลหะ (Non metal) ส่วนธาตุที่อยู่ติดกับเส้นขั้นบันไดนั้น จะเป็นกึ่งโลหะ (Metalloid)
- ธาตุทรานซิชัน มีทั้งหมด 8 หมู่ แต่หมู่ 8 มีทั้งหมด 3 หมู่ย่อย จึงมีธาตุต่างๆ รวม 10 หมู่ และมีทั้งหมด 4 คาบ
ธาตุอินเนอร์ทรานซิชัน มี 2คาบโดยมีชื่อเฉพาะเรียกคาบแรกว่าคาบแลนทาไนด์ - (Lanthanide series) และเรียกคาบที่สองว่า คาบแอกทิไนด์ (Actinide series) เพราะเป็นคาบที่อยู่ต่อมาจาก 57La (Lanthanum) และ 89Ac (Actinium) ตามลำดับ คาบละ 14 ตัวรวมเป็น 28 ตัว
การจัดเรียงธาตุลงในตารางธาตุ
เมื่อทราบการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุต่างๆ แล้ว จะเห็นว่าสามารถจัดกลุ่มธาตุได้ง่ายขึ้น โดยธาตุที่มีระดับพลังงานเท่ากัน ก็จะถูกจัดอยู่ในคาบเดียวกัน ส่วนธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดเท่ากัน ก็จะถูกจัดอยู่ในหมู่เดียวกัน ดังภาพ
ภาพการจัดเรียงธาตุลงในตารางธาตุ
ประเภทของธาตุในตารางธาตุ
ธาตุโลหะ (metal) โลหะทรานซิชันเป็นต้นฉบับของโลหะ ธาตุโลหะเป็นธาตุที่มีสถานะเป็นของแข็ง ( ยกเว้นปรอท ที่เป็นของเหลว) มีผิวที่มันวาว นำความร้อน และไฟฟ้าได้ดี มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ( ช่วงอุณหภูมิระหว่างจุดหลอมเหลวกับจุดเดือดจะต่างกันมาก) ได้แก่ โซเดียม (Na) เหล็ก (Fe) แคลเซียม (Ca) ปรอท (Hg) อะลูมิเนียม (Al) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) ดีบุก (Sn) เป็นต้น
ธาตุอโลหะ ( Non metal ) มีได้ทั้งสามสถานะ สมบัติส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับอโลหะ เช่น ผิวไม่มันวาว ไม่นำไฟฟ้า ไม่นำความร้อน จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เป็นต้น ได้แก่ คาร์บอน( C ) ฟอสฟอรัส (P) กำมะถัน (S) โบรมีน (Br) ออกซิเจน (O 2) คลอรีน (Cl 2) ฟลูออรีน (F 2) เป็นต้น
ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) เป็นธาตุกึ่งตัวนำ คือ มันจะสามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ธาตุกึ่งโลหะเหล่านี้จะอยู่บริเวณเส้นขั้นบันได ได้แก่ โบรอน (B) ซิลิคอน ( Si) เป็นต้น
ธาตุกัมมันตรังสี เป็นธาตุที่มีส่วนประกอบของ นิวตรอน กับโปรตอน ไม่เหมาะสม (>1.5) ธาตุที่ 83ขึ้นไปเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีทุกไอโซโทปมีครึ่งชีวิต
สมบัติของธาตุในแต่ละหมู่
ธาตุหมู่ I A หรือโลหะอัลคาไล (alkaline metal)
- โลหะอัลคาไล ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม และแฟรนเซียม
- เป็นโลหะอ่อน ใช้มีดตัดได้
- เป็นหมู่โลหะมีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จึงต้องเก็บไว้ในน้ำมัน
-ออกไซด์และไฮดรอกไซด์ของโลหะอัลคาไลละลายน้ำได้สารละลายเบสแก่
- เมื่อเป็นไอออน จะมีประจุบวก
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ มีความหนาแน่นต่ำเมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 1
ธาตุหมู่ II A หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ (alkaline earth)
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ ได้แก่ เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม เรเดียม
- มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามาก แต่น้อยกว่าโลหะอัลคาไล
- ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบส สารประกอบโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธพบมากในธรรมชาติ
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีความว่องไวแต่ยังน้อยกว่าโลหะอัลคาไล
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 2
ธาตุหมู่ III
- ธาตุหมู่ III ได้แก่ B Al Ga In Tl
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 3
ธาตุหมู่ IV
- ธาตุหมู่ IV ได้แก่ C Si Ge Sn Pb
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 4
ธาตุหมู่ V
- ธาตุหมู่ V ได้แก่ N P As Sb Bi
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 5
ธาตุหมู่ VI
- ธาตุหมู่ VI ได้แก่ O S Se Te Po
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 6
ธาตุหมู่ VII หรือหมู่แฮโลเจน (Halogen group)
- หมู่ธาตุแฮโลเจน ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และแอสทาทีน
- เป็นหมู่อโลหะที่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด (F ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด)
- เป็นธาตุที่มีพิษทุกธาตุและมีกลิ่นแรง
- โมเลกุลของธาตุแฮโลเจนประกอบด้วย 2 อะตอม (Cl 2 Br 2 I 2)
- แฮโลเจนไอออนมีประจุบลบหนึ่ง (F - C - Br - I - At -)
ธาตุหมู่ VIII หรือก๊าซเฉื่อย หรือก๊าซมีตระกูล (Inert gas )
- ก๊าซมีตระกูล ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเต็ม 8 อิเล็กตรอน จึงทำให้เป็นก๊าซที่ไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
- ก๊าซมีตระกูลอยู่เป็นอะตอมเดี่ยว แต่ยกเว้น Kr กับ Xe ที่สามารถสร้างพันธะได้
ขนาดอะตอมของธาตุ
หน่วยพิโกเมตร
ขนาดอะตอมของธาตุต่างๆ
ขนาดของอะตอมนั้นถ้าจะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อขนาดของอะตอมนั้น อาจแบ่งแยกออกได้เป็นข้อ เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้
1. จำนวนระดับพลังงาน
2. จำนวนโปรตอน
3. จำนวนอิเล็กตรอน
ขนาดไอออนของธาตุ
หน่วยพิโกเมตร
สมบัติอื่นๆ ของธาตุ
พลังงานไอโอไนเซชัน (Ionization Energy : IE) หมายถึง พลังงานปริมาณน้อยที่สุด ที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอม ในสถานะก๊าซ เช่น
ธาตุที่มีอิเล็กตรอนมากกว่า 1 ตัว เช่น ธาตุลิเทียม(Li)
Li(g) Li +(g) + e - IE 1 = 520 kJ/mol
Li +(g) Li 2+(g) + e - IE 2 = 7,394 kJ/mol
Li 2+(g) Li 3+(g) + e - IE 3 = 11,815 kJ/mol
จากการสังเกตจากค่าพลังงานไอออไนเซชันจะพบว่า IE 1 คือพลังงานที่ให้แก่อะตอมเพื่อดึงอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดมีค่าน้อยที่สุด เพราะอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสหลุดออกได้ง่าย
อิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity : EN) หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนในพันธะเข้ามาหาตัวเอง
Na + -------> Cl -
จากภาพจะเห็นว่า อะตอมของ Cl มีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองได้ดีกว่า Na แสดงว่า Cl มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่า Na
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน ( Electron Affinity : EA ) คือ พลังงานที่อะตอมในสถานะก๊าซคายออกมาเมื่อได้รับอิเล็กตรอน สมการเป็นดังนี้
F(g) + e - Li -(g) + พลังงาน EA = -333 kJ/mol
การแบ่งกลุ่มย่อยตามสมบัติของ 20 ธาตุแรก
แผนภาพสรุปแนวโน้มสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
-
- พันธะโคเวเลนต์เป็นการยึดเหนี่ยวกันระหว่างคู่อะตอมโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ส่วนใหญ่เกิดขี้นระหว่างคู่อะตอมของธาตุอโลหะ - พันธะโคเ...
-
สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere) สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ ( atmosphere) อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส...